การผ่าตัดแก้ไขตาเข
เชื่อว่าหลายคนยังมีความเข้าใจผิดๆ ว่าเมื่อเป็นตาเขแล้วต้องทำใจ เพราะยังไงก็รักษาไม่ได้ ทำให้หลายๆ คนต้องเติบโตมาพร้อมกับสภาวะตาเขโดยไม่ได้รับการรักษา ส่งผลต่อบุคลิกภาพ ความมั่นใจ ไปจนถึงคุณภาพชีวิต
ตาเข เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง?
-
กล้ามเนื้อตาทำงานไม่สมดุลกัน
-
กล้ามเนื้อตาผิดปกติตั้งแต่กำเนิด
-
เส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อตาทำงานบกพร่องได้
-
การมองเห็นในตาข้างนั้นบกพร่อง ทำให้ตาข้างดังกล่าวไม่ได้ใช้งาน จึงเขเข้า/ออกไป
-
สายตาผิดปกติ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กที่มีสายตายาว ตั้งแต่ 400 ขึ้นไป
ตาเขสำคัญอย่างไร ทำไมต้องรักษา?
ตาเขหากพบตั้งแต่เด็ก จะส่งผลต่อพัฒนาการการมองเห็นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเด็กที่มีตาเขข้างใดข้างหนึ่งตลอดเวลา อาจเกิดภาวะตาขี้เกียจตามมาได้ นอกจากนี้เด็กตาเขอาจมีปัญหาเรื่องความมั่นใจการเข้าสังคม และการเรียนได้
สำหรับตาเขในวัยผู้ใหญ่ นอกจากปัญหาเรื่องบุคลิกภาพแล้ว บางรายอาจมีอาการภาพซ้อน ซึ่งรบกวนชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก
ตาเขรักษาอย่างไร จำเป็นต้องผ่าตัดทุกคนหรือไม่?
วิธีรักษาตาเขมีหลายวิธี ขึ้นกับสาเหตุของตาเข
-
การใส่แว่นสายตา
-
การใส่แว่นปริซึม
-
การผ่าตัดกล้ามเนื้อตา
การผ่าตัดกล้ามเนื้อตา แก้ไขตาเข
โดยทั่วไปแพทย์จะทำการผ่าตัดภายใต้การดมยาสลบ ผู้ป่วยต้องได้รับการประเมินร่างกายก่อนผ่าตัด เจาะเลือด และงดน้ำงดอาหาร การผ่าตัดกล้ามเนื้อตาจะไม่มีแผลภายนอก เนื่องจากกล้ามเนื้อตาอยู่ใต้ชั้นเยื้อบุตา แต่อาจจะเห็นตาขาวแดงประมาณ 2-3 สัปดาห์หลังผ่าตัด ผู้ป่วยพักฟื้นที่รพ. 1-2 วัน แล้วกลับไปพักที่บ้านได้ สามารถลืมตาและทำกิจกรรมได้ใกล้เคียงปกติ
“ ตาเข รักษาได้ ”
พญ.ชวิศา บุณยวีย์
จักษุแพทย์ตาเด็กและโรคตาเข
โรงพยาบาลธนบุรี ทวีวัฒนา