เลือกภาษา:
ความรู้เพื่อสุขภาพ

โรคภูมิแพ้ในเด็ก สาเหตุ อาการ การวินิจฉัยและการรักษา

พญ.อิสรีย์ ลีลายุวัฒนกุล


 

คุณพ่อคุณแม่ทราบหรือไม่? ว่าโรคภูมิแพ้ในเด็กเป็นโรคที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน และยังแฝงความอันตรายที่มาพร้อมโรคนี้อยู่ไม่น้อย เนื่องจากเป็นโรคที่เกี่ยวกับเรื่องภูมิคุ้มกันในร่างกายของเด็ก ซึ่งเป็นวัยที่ระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ยังทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพมากนัก ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรเฝ้าระวังและดูแลกันอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ลูกมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงปลอดภัย ห่างไกลจากโรคภูมิแพ้ในเด็ก โดยรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ในเด็กนั้น

แพทย์หญิงอิสรีย์ ลีลายุวัฒนกุล ตำแหน่งกุมารแพทย์ โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน โรงพยาบาลธนบุรี2 ได้กล่าวว่า

โรคภูมิแพ้ในเด็ก มีสาเหตุที่เกิดจากการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในร่างกายที่มากกว่าปกติ ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น จนทำให้เกิดอาการแพ้ โดยอาการแพ้นั้นขึ้นอยู่กับระบบต่างๆ ในร่างกาย หรือชนิดของโรคภูมิแพ้ที่เป็น

ชนิดของโรคภูมิแพ้ในเด็กที่พบบ่อย ได้แก่
                                       

 

                                         

  1. โรคภูมิแพ้ผิวหนัง จะมีลักษณะผิวแห้ง และมีอาการคัน เป็นผื่นตามใบหน้าหรือข้อพับต่าง ๆ ตามร่างกาย ซึ่งอาการจะเป็น ๆ หายๆ ขึ้นอยู่กับสภาพผิวและปัจจัยกระตุ้นในขณะนั้น
         

                                   

  2. โรคภูมิแพ้อาหาร มีอยู่หลายชนิดและหลายอาการ หากเป็นระบบผิวหนัง อาจจะเป็นผื่นลมพิษ ซึ่งอาจจะคันหรือหน้าบวม ตาบวม ปากบวมได้ แต่หากเป็นที่ระบบทางเดินอาหาร อาจจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว หรือถ่ายปนมูกเลือด และหากเป็นที่ระบบทางเดินหายใจ อาจจะมีอาการไอ แน่นหน้าอก หรือหายใจลำบาก หรือหากมีอาการแพ้หลายระบบ อาจจะมีอาการรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้

                                         
 

  1. โรคหืด จะมีอาการไอ เหนื่อย แน่นคอ หายใจเสียงดังวี้ด ซึ่งอาการส่วนใหญ่จะเป็นตามหลังการติดเชื้อ เช่น หัวเราะ หรือออกกำลังกาย

                                                   

  1. โรคภูมิแพ้จมูก จะมีอาการคัดจมูก คันจมูก จาม น้ำมูกไหล หรือมีอาการไอ จากน้ำมูกไหลลงคอ อ้าปากหายใจเนื่องจากคัดจมูก อาการจะเป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งอาจสัมพันธ์กับอุณหภูมิ , ความชื้น , มลภาวะ , ควันบุหรี่ หรือสารก่อภูมิแพ้

                                         

  1. โรคภูมิแพ้ที่ตา จะมีอาการคันตา เคืองตา น้ำตาไหล กระพริบตาบ่อย ส่วนใหญ่พบร่วมกับโรคภูมิแพ้จมูก

ส่วนเรื่องการวินิจฉัยโรคภูมิแพ้ในเด็กนั้น แพทย์หญิงอิสรีย์ ลีลายุวัฒนกุล ยังกล่าวอีกว่า เริ่มจากการที่แพทย์จะซักประวัติอย่างละเอียด ถึงอาการที่เป็น และตรวจร่างกายเกี่ยวกับอวัยวะที่เกี่ยวข้อง เช่น จมูก ปอด ผิวหนัง เป็นต้น

ถ้าประวัติและอาการของภูมิแพ้ชัดเจน แพทย์จะสามารถวินิจฉัยได้เลย แต่หากไม่ชัดเจนต้องตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม โดยทั่วไปการตรวจสามารถทำได้ 2 วิธีคือ

1.การสะกิดผิวหนัง เพื่อหาสารก่อภูมิแพ้

2.การตรวจเลือด เพื่อหาค่า specific IgE ต่อสารก่อภูมิแพ้

โดย 2 วิธีนี้ เป็นการตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ที่สงสัยว่าทำให้เกิดอาการของโรคภูมิแพ้

ซึ่งคุณหมอยังได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการรักษาที่ถูกต้องไว้อีกด้วย คือ หากผลการตรวจเข้าได้กับโรคภูมิแพ้ แพทย์จะสั่งจ่ายยา เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดอาการแพ้ เช่น ยาพ่นคุมอาการโรคหืด, ยาพ่นจมูก, ยาแก้ โดยแพทย์จะนัดดูอาการอย่างต่อเนื่อง และควรหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น แมลงสาบ สุนัข แมว หญ้า เชื้อรา หรือมลภาวะต่างๆที่กระตุ้นให้เกิดโรคภูมิแพ้ เพื่อการควบคุมอาการของโรคให้ดีขึ้น และเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยโรคภูมิแพ้

สุดท้าย แพทย์หญิงอิสรีย์ ลีลายุวัฒนกุล ได้แนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการ “ปฏิบัติตัวเมื่อทราบว่าลูกเป็นภูมิแพ้” ไว้ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่จะทำให้เกิดการภูมิแพ้ เช่น การติดเชื้อ, มลภาวะต่างๆ โดยการใส่หน้ากากอนามัย, ล้างมือบ่อยๆ

  • จัดเก็บที่อยู่อาศัยให้เป็นระเบียบ สำคัญที่สุดคือในห้องนอน โดยการทำความสะอาดผ้าปูที่นอนทุกสัปดาห์ ด้วยน้ำร้อนอุณหภูมิมากกว่า 55°C , ใช้ผ้าปูที่นอนกันไร้ฝุ่น มีหมอนและผ้าห่มเท่าที่จำเป็น

  • หากเลี้ยงสุนัข หรือแมว ควรอาบน้ำสัตว์เลี้ยงสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ, กินอาหารให้ครบ 5 หมู่, พักผ่อนให้เหมาะสมตามอายุ

  • ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ควรได้รับ วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี

หากคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครองท่านใดสังเกตได้ว่าลูกหลานของท่านอาจมีอาการที่เสี่ยงจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กตามที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ควรรีบพามาพบแพทย์ เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะดีที่สุดค่ะ


 

ศูนย์การแพทย์และคลินิกเฉพาะทาง

คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลธนบุรีทวีวัฒนา

ชั้น 2 อาคาร 2 เปิดบริการเวลา 07.30 - 22.00 น.

ชั้น 1 อาคาร 1 เปิดบริการเวลา 22.00 - 24.00 น.

โทร.02-4872100 ต่อ 5228-5229