เลือกภาษา:
ความรู้เพื่อสุขภาพ

คีลอยด์ (Keloid)

นพ. สิริวัฒน์ ภัทรากาญจน์


คีลอยด์ (keloid)
เป็นแผลเป็นนูนที่มีขนาดใหญ่กว่ารอยแผลดั่งเดิมตั้งแต่แรก เกิดตามหลังการบาดเจ็บของผิวหนัง เช่น การผ่าตัด การฉีดวัคซีน การเป็นสิว และการเจาะใบหู ไม่ใช่ทุกคนที่หลังจากมีบาดแผลที่ผิวหนังแล้วจะกลายเป็นคีลอยด์ แต่ในคนที่เคยเป็นคีลอยด์แล้ว ถ้ามีบาดแผลที่ผิวหนังก็จะมีโอกาสเป็นคีลอยด์ได้มากกว่าคนทั่วไป ผู้ป่วยที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นคีลอยด์ ก็จะมีโอกาสเป็นคีลอยด์ได้มากกว่าคนทั่วไป


สาเหตุ
หลังจากมีบาดแผลที่ผิวหนัง ร่างกายคนเราจะซ่อมแซมผิวหนังโดยการสร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เรียกว่า คอลลาเจนขึ้นมา ซึ่งในคนปกติเมื่อคอลลาเจนสร้างมาได้เพียงพอแล้ว ก็จะหลุดการสร้าง แต่ในคนที่เป็นคีลอยด์จะมีการสร้างคอลลาเจนออกมามากเกิน จนเกิดเป็นแผลเป็นนูนคีลอยด์ขึ้น

อาการแสดง
ลักษณะเป็นก้อนนูน แข็ง สีชมพู แดง หรือน้ำตาล ผิวเป็นมันเงา มีได้ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ผิวเป็นเงามัน ถ้ามีขนาดใหญ่อาจจะทำให้เกิดการดึงรังผิวหนังข้างเคียง มักเป็นที่หน้าอก หลัง และหัวไหล่


การรักษา
1. ฉีดสเตอรอยด์ เพื่อลดการอักเสบและลดการสร้างคอลลาเจน
2. ใช้ความเย็น
3. แปะแผ่นซิลิโคน หรือ ทาเจลซิลิโคน
4. ยิงด้วยแสงเลเซอร์
5. ผ่าตัดออก ซึ่งต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ต้องติดตามการรักษา เพราะมีโอกาสที่คีลอยด์จะกลับมาเป็นใหม่และอาจมีขนาดใหญ่กว่าเดิม

วิธีการป้องกัน
เป็นปัจจัยสำคัญ มากกว่าการรักษา ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นคีลอยด์ ถ้าจำเป็นต้องได้รักการผ่าตัดที่ผิวหนัง หลังผ่าตัดจะต้องดูแลแผลผ่าตัดอย่างดี และถ้าเริ่มเป็นคีลอยด์อันเล็ก ๆ ต้องรีบกลับมาหาแพทย์เพื่อรักการรักษา อย่าปล่อยไว้จะมีขนาดใหญ่

การรักษาคีลอยด์อาจจะต้องรับการรักษาหลายครั้ง ดังนั้นจึงควรพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ


นพ. สิริวัฒน์ ภัทรากาญจน์
แพทย์ผิวหนัง
คลินิกผิวหนัง โรงพยาบาลธนบุรี ทวีวัฒนา