เลือกภาษา:
ความรู้เพื่อสุขภาพ

ไบโพล่าร์

พญ.สุพัตรา หงส์ยั่งยืน


“ไบโพล่าร์” หรือโรคอารมณ์ 2 ขั้ว เป็นโรคที่มีอาการผิดปกติทางอารมณ์ คือมีอารมณ์ 2 แบบที่แตกต่างกัน จะมีลักษณะอารมณ์ช่วงหนึ่งครื้นเครง ร่าเริง สนุกสนานผิดปกติ สลับกับอารมณ์ซึมเศร้าที่รุนแรง ทำให้สูญเสียความสามารถในการเรียน การทำงาน การเข้าสังคม และการปรับตัวเข้ากับครอบครัว

ไบโพล่าร์เกิดขึ้นได้อย่างไร?

  1. ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม โดยพบว่าเด็กที่มีพ่อหรือแม่ที่ป่วยเป็นโรคจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดเป็นโรคนี้ได้สูง             กว่าคนทั่วไป
  2. ปัจจัยทางด้านการทำงานของสมอง เกิดจากการทำงานผิดปกติของสมอง เช่น มีสารที่สื่อประสาทที่ไม่สมดุล
  3. ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การเลี้ยงดูในวัยเด็ก หรือมีความเครียดที่สะสมอาจจะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้โรค               ไบโพล่าร์กำเริบได้

ไบโพล่าร์มีผลอย่างไรกับลูกน้อย?

ผู้ป่วยที่เป็นโรคไบโพล่าร์ มักจะไม่มีสมาธิในการเรียน ทำให้ผลการเรียนตกลง อาจจะมีปัญหาเรื่องของพฤติกรรมที่สร้างปัญหา เช่น ทะเลาะกับเพื่อนฝูง พ่อแม่ไม่สามารถได้ใกล้ชิดกับลูก จะเห็นเพียงว่าลูกอารมณ์แปรปรวน

ป้องกันไม่ให้ลูกน้อยเป็นไบโพล่าร์ได้อย่างไร?

ถึงแม้จะมียารักษา แต่สิ่งสำคัญและดีไม่แพ้การรักษาด้วยยา ก็คือ “ครอบครัว” คุณพ่อ คุณแม่ ต้องช่วยกันดูแลทางด้านจิตใจ เข้าใจในตัวลูกน้อย ถ้าเราเข้าใจในสิ่งที่เขาเป็น และช่วยให้กำลังใจ สอนให้เขารู้จักควบคุมความเครียด และอารมณ์ เขาก็จะสามารถมีชีวิตที่ปกติ